http://www.najathai.net
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  ดาวน์โหลด  เว็บบอร์ด  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   Cart รายการสั่งซื้อ (0) 
ประวัติ
ประวัติองค์เทพเจ้า
วิหารเทพสถิตพระกิติเฉลิม
ภาพพิธีการ
งานเทศกาลกินเจ
โครงการมูลนิธิ
ความรู้ทั่วไป
จดหมายข่าว
กรอก Email เพื่อรับข่าวสาร

Menu
หน้าแรก
บทความ
ดาวน์โหลด
เว็บบอร์ด
รวมรูปภาพ
ติดต่อเรา
องค์พระอวโลกิเตศวรมหาโพธสัตว์

เทพเจ้าหน่าจา

 

ความหมายของเจ

     คำว่า "เจ" ในภาษาจีนทางพุทธศาสนาฝ่ายมหายานมีความหมายเดียวกับคำว่า "อุโบสถ" ดังนั้น การกินเจก็คือการรับประทานอาหารก่อนเที่ยงวัน เหมือนกับที่ชาวพุทธในประเทศไทยถืออุโบสถศีล หรือรักษาศีล 8 โดยไม่รับประทานอาหารหลังจากเที่ยงวันไปแล้ว

     แต่เนื่องจากการถืออุโบสถศีลของชาวพุทธฝ่ายมหายานที่ไม่กินเนื้อสัตว์ จึงนิยมนำการไม่กินเนื้อสัตว์ไปรวมกันเข้ากับคำว่ากินเจ กลายเป็นการถือศีลกินเจ ในปัจจุบันผู้ที่รับประทานอาหารทั้ง 3 มื้อแต่ไม่กินเนื้อสัตว์ก็ยังคงเรียกว่ากินเจ ฉะนั้นความหมายก็คือคนกินเจมิใช่เพียงแต่ไม่กินเนื้อสัตว์ แต่ยังต้องดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม มีความบริสุทธิ์ สะอาด ทั้งกาย วาจา ใจ คนไทยรุ่นปู่ย่าตายายที่เคร่งในศีลวัตรจะไปอาราธนาศีลแปดจากพระสงฆ์ ในวันธรรมสวนะภายในพระอุโบสถ ศีลแปดจึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า "อุโบสถศีล"

     ความเป็นจริงแจมิได้แปลว่า อุโบสถ

     ผู้เขียนเกี่ยวกับเรื่องกินเจที่ไม่เข้าใจภาษาและที่มาของคำจึงแปลอักษรแจผิดว่า "อุโบสถ" ซึ่งคำแปลนี้ก็ฮิตติดตลาด และถูกคัดลอกไปใช้บ่อยอย่างน่ารำคาญใจ เพราะหากจะเอาตามความในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานแล้ว

     อุโบสถ เป็นคำนาม หมายถึงสถานที่ที่พระสงฆ์ ประชุมกันทำสังฆกรรมต่างๆ เรียกย่อว่า โบสถ์ การแปลและเข้าใจคลาดเคลื่อนดังกล่าวยังถูกใช้เป็นบรรทัดฐานในการอธิบายวัตรปฏิบัติของการกินเจผิดตามไปด้วยว่า "การกินเจต้องถือศีลข้อวิกาลโภชน์" หรือการงดกินของขบเคี้ยวหลังเที่ยงวันไปแล้ว ซึ่งเป็นศีลข้อหนึ่งในศีลแปด ทั้งๆ ที่โรงครัวของศาลเจ้าหรือโรงเจที่เปิดเลี้ยงผุ้คนในช่วงเทศกาลกินเจล้วนแต่มีอาหารมื้อเย็นให้กับผู้เข้าไปกิน ยิ่งวันที่มีการประกอบพิธีกรรมในตอนค่ำยังมีอาหารมื้อค่ำบริการเสริมให้เป็นพิเศษด้วย ที่เป็นเช่นนั้นเพราะในช่วงเทศกาลกินเจนั้นเขาถือเพียงศีลห้าที่เป็นนิจศีล ไม่ได้ครองศีลแปดอย่างที่หลายคนเข้าใจ (เว้นแต่ผู้ตั้งจิตอธิษฐานว่าจะครองศีลแปดเป้นการส่วนตัวเท่านั้น)

     ในทางอักษรศาสตร์จีน อักษรตัว "แจ" มีพัฒนาการมาจาก ตัวอักษร "ฉี" ซึ่งแปลว่าบริบูรณ์, เรียบร้อย อักษรแจเกิดจากการเพิ่มเส้นตั้งและสองจุด เข้าไปกลางอักษรฉี ทำให้เกิดตัว ซื  ซึ่งแปลว่าการสักการะ อยู่ในแก่นกลางของตัวฉี

     แจ จึงมีความหมายว่า การรักษาความบริสุทธิ์ (ทั้งกายและใจ) เพื่อการสักการะ หรือการปฏิบัติบูชาถวายเทพยดา

     แจในวัฒนธรรมดั่งเดิมของจีน

     ศัพท์ แจ พบในเอกสารจีนเก่าที่มีอายุกว่าสองพันปีหลายฉบับ เอกสารเหล่านั้นยังใช้อักษรตัวฉี แต่เวลาอ่านออกเสียงกลับต้องอ่านออกเสียงว่า ไจ เช่น คำว่า ไจเจี๋ย ซึ่งก็คือการออกเสียง แจ ในสำเนียงแต้จิ้วนั้นเองอักษรฉีในเอกสารนั้น นักอักษรศาสตร์ตีความว่าแท้จริงแล้วก็คืออักษรตัวแจหรือใช้แทนตัวแจ แจที่ว่านี้หาได้หมายถึงการงดกินของสดคาว หรือการงดรับประทานอาหารหลังเที่ยง หากหมายถึงการชำระล้างร่างกาย สงบจิตใจ และสวมใส่เสื้อผ้าใหม่สะอาด เป็นการเตรียมกายและใจให้บริสุทธิ์เพื่อประกอบพิธีกรรมสักการะบูชา ขอพร หรือแสดงความขอบคุณต่อเทพยดาแห่งสรวงสวรรค์

     แจเพื่อการจำแนกความเคร่งครัดของภิกษุฝ่ายมหายาน ศีลของภิกษุฝ่ายมหายาน ในส่วนเกี่ยวกับการฉันของภิกษุแตกต่างจากฝ่ายเถรวาท ทั้งมีการจำแนกเป็นสองลักษณะตามสำนักศึกษา ได้แก่

     1.  เหล่าที่ถือมั่นในศีลวิกาลโภชน์และฉันอาหารเจ จะไม่ฉันอาหารหลังอาทิตย์เที่ยงวัน เรียก ถี่แจ

     2.  เหล่าที่ถือมั่นแต่การฉันอาหารเจ เรียก ถี่สู่

เจียะแจ

ความหมาย เป็นการออกเสียงคามสำเนียงถิ่นแต้จิ๋ว ศัพท์คำนี้ใช้และเป็นที่เข้าใจแต่ทางตอนใต้ของจีนโดยเฉพราะแถบลุ่มอารยธรรมหลิ่งหนาน ในมณฑลกวางตุ้ง อันเป็นแหล่งอาศัยดั่งเดิมของคนแคะ แต้จิ๋ว กวางตุ้งและไหหนำ ซึ่งเป็นชาวจีนกลุ่มใหญ่ในประเทศไทยเจียะแจตรงกับคำว่า ชือซู  ในภาษาจีนกลาง

เจียะ ในภาษาถิ่นใต้ หากใช้ในความหมายของคำกิริยา แปลว่า กิน

แจ แปลว่า บริสุทธิ์

     เจียะแจ หรือ ตรงกับคำไทยที่นิยมใช้กันว่ากินเจ จึงแปลว่า การกินอาหารที่บริสุทธิ์ตามความเชื่อ (ในลัทธิกินเจ) ซึ่งหมายความถึงอาหารที่ไม่คาวหรือไม่เจือปนซากผลิตภัณฑ์ของสัตว์ รวมทั้งไม่ปรุงใส่พืชผักต้องห้าม

     คำว่าเจียะแจนี้ ชาวจีนฮกเกี้ยนทางปักษ์ใต้แถบจังหวัดภูเก็ตเรียกต่างออกไปว่า เจียะไฉ่ ที่แปลตามตัวอักษรได้ว่า "กินผัก" แต่มีนิยามหรือความหมายตรงกับคำว่าเจียะแจที่กล่าวข้างต้น

 
สมาชิก
บัญชีผู้ใช้
รหัสผ่าน


ลืมรหัสผ่าน
สมัครสมาชิก
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 21/07/2010
ปรับปรุง 10/02/2018
สถิติผู้เข้าชม3,929,207
Page Views6,105,964
« November 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
Poll
ประทับใจที่สุด
ความสวยงาม
ความศรัทธา
ความสะอาด
การต้อนรับ
By
รหัสยืนยัน :

Result
Link
เพื่อนบ้านทั้งหมด
 หน้าแรก  บทความ  เว็บบอร์ด  รวมรูปภาพ  ติดต่อเรา

วิหารเทพสถิตพระกิติเฉลิม (ศาลเจ้าหน่าจาซาไท้จื้อ) 1/13 หมู่ 5 ตำบลอ่างศิลา อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 20000

โทร. 038-398381-3 โทรสาร. 038-398384 E-mail : naja_shrine@hotmail.com , naja_shrine@yahoo.com

 
view